พลเอกสุรเชษฐ์ฯ ลงปัตตานีเร่งติดตามการนำเสนอ​ผลดำเนินงานพท.นวัตกรรมการศึกษา เตรียมเดินหน้าพร้อมกัน​3จังหวัด(ชมคลิป)​

0
899

กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาชายแดนภาคใต้ ดำเนินการส่งเสริมให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในด้านวิชาการ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป โดยมีความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา มีการใช้นวัตกรรมทางการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้เหมาะสมกับผู้เรียน บริบทพื้นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของประเทศ


ซึ่งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษามีวัตถุประสงค์หลัก 4 ด้าน 1.คือคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของผู้เรียน ตลอดจนเพื่อดำเนินการการขยายผลใช้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอื่นๆ
2.ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา 3,กระจายอำนาจและให้อิสระแก่หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา นำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ 4.สร้างและพัฒนากลไกในการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา


พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ/หัวหน้าผู้แทนพิเศษของรัฐบาลกล่าวว่า เราเน้นตามบริบทของพื้นที่ยกระดับให้เกิดสัมฤทธิผล โดยทำพร้อมกันทั้ง 3 จังหวัด เริ่มที่ปัตตานีก่อนขณะนี้มี​ 27 รร. ส่วนอีก 2 จังหวัดอยู่ระหว่างการพิจารณา สิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องบริหารกลไกต่างๆที่กระจายไปให้ได้ในทุกภาคส่วน ทุกสังกัด ในทุกระดับตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนไปสู่ระดับมัธยม อาชีวะเช่นเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานีเรื่องหลักสูตรนวัตกรรมหุ่นยนต์และอุดมศึกษาเสริมธุรกิจในระหว่างเรียน ให้กระทรวงศึกษาดำเนินการแบบคู่ขนาน เมื่อกฎหมายประกาศใช้ จะมีการนำเสนอจากตัวแทนศึกษาธิการระดับจังหวัดเข้าไปเสนอถึงคณะกรรมการกำหนดนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการให้มีการประกาศจนมีผลบังคับใช้ได้ต่อไป

นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา ลดความเหลือมล้ำและ ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จึงได้มีการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เพื่อให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ทางการศึกษาในระดับพื้นที่ ส่งเสริมให้สถานศึกษามีคุณภาพ สามารถดูแลและพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21
สำหรับการจัดโครงการตั้งแต่วันแรกถึงวันสุดท้าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมในจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส ให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมากในการระดมความคิดแนวทางในการดำเนินงาน ตลอดจนการวิเคราะห์แนวทางในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม และตรงความต้องการของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งได้นำนวัตกรรมการศึกษาจังหวัดชายภาคใต้นำมาแสดงให้ ครู อาจารย์ ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ได้เยี่ยมชมเพื่อเป็นแนวทางในการนำไปปรับใช้ปฏิบัติ

การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษานำร่องใน 6 ภูมิภาค ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ พื้นที่จังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วยจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีบริบทที่แตกต่างจากพื้นที่ในภูมิภาคอื่นๆ ทั้งด้านภาษา ประเพณี และวัฒนธรรม รวมทั้งการจัดการศึกษาซึ่งมีลักษณะพิเศษที่มีความแตกต่างกัน โดยมุ่งหมายให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ทางการศึกษาในระดับพื้นที่ สถานศึกษาให้มีคุณภาพ สามารถดูแลนักเรียน และพัฒนาทักษะใน ของนักเรียนจนได้รับความศรัทธาจากชุมชนและสังคม

ทีมข่าว@ชายแดนใต้​ จ.ปัตตานี