มูลนิธิปวีณาลงยะลา นำลูกจ้างโรงงานยางพารา ประสบเหตุเครื่องบดจนมือพิการ​ พาพบแรงงาน/ประกันสังคมยะลา หวั่นไมได้รับชดเชย

0
478

มูลนิธิปวีณาลงยะลา นำลูกจ้างโรงงานยางพารา ประสบเหตุถูกเครื่องบดอัดยางพารา บดมือจนพิการเข้าหารือกับหน่วยงานด้านแรงงานและประกันสังคมยะลา หลังหวั่นว่าจะไมได้รับงดชดเชยช่วยเหลือ
เมื่อวันที่ 5 ก.พ.62  ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณา พร้อมด้วย ครอบครัวของนายกิตติพร นามวิเศษ อายุ 18 ปี หนุ่มลูกจ้าง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโรงงานยางพารา ต.ถ้ำทะลุ อ.บันนังสตา จ.ยะลา ซึ่งได้ประสบอุบัติเหตุขณะทำงานภายในโรงงานดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562 โดยถูกเครื่องจักรบดมือขวา จนนิ้วมือข้างขวาตั้งแต่นิ้วหัวแม่มือไปจนถึงนิ้วนาง ได้รับบาดเจ็บและทุพลภาพ และเข้ารับการรักษาพยาบาล

โดยทางโรงงานซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชน โดยนายจ้างผู้จัดการโรงงานได้มอบเงินช่วยเหลือให้จำนวน 20000 บาท ซึ่งทางครอบครัวของนายกิตติพร นามวิเศษ เกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากค่าชดเชยดังกล่าวที่มีจำนวนน้อยเกินไป จึงได้ติดต่อไปยังมูลนิธิปวีณา ให้ช่วยเหลือดำเนินการขอความเป็นธรรมจากกรณีดังกล่าว
ซึ่งนางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิ ได้รับเรื่องดังกล่าวไว้ และประสานไปยัง สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดยะลา สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยะลา เพื่อหารือและตรวจสอบการให้ความช่วยเหลือด้านการคุ้มครองแรงงาน


โดยนางปวีณา หงสกุล ได้นำนายกิตติพร นามวิเศษ พร้อมด้วยครอบครัว และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าประชุมหารือกันโดยมี พล.ต.ต.กฤษฎา แก้วจันดี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดยะลา เป็นสักขีพยานและผู้รับเรื่องดังกล่าวไว้ในการติดตามความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือซึ่งทางนายธรรมรัตน์ ศรีนุ่ม นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า ในส่วนกรณีที่เกิดขึ้นนี้ ได้มีการตรวจสอบขั้นต้นแล้วก็พบว่า ทั้งลูกจ้างคือนายกิตติพร นามวิเศษ เป็นลูกจ้างถูกต้องที่ทางโรงงานได้แจ้งดำเนินการไว้ในระบบของกระทรวงแรงงานแล้ว ซึ่งภายหลังประสบเหตุ ทางประกันสังคม ก็จะดำเนินการตรวจสอบตามหลักฐานการยื่นขอรับความช่วยเหลือ จากทางโรงงานที่ประกอบการ

และทางผู้เสียหาย ที่จะต้องดำเนินการเอาหลักฐานจากการเข้ารับการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลศูนย์ยะลา มาให้กับสำนักงานประกันสังคม เพื่อจะได้ดำเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนของกระบวนการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุระหว่างการทำงานในสถานประกอบการ ซึ่งในขั้นต้นนั้น นายกิตตพร นามวิเศษ สูญเสียอวัยวะ คือนิ้วมือตั้งแต่หัวแม่มือข้างขวาไปจนถึงนิ้วนาง ซึ่งตามหลักเกณฑ์ของการให้ความช่วยเหลือมีอยู่แล้วในการชดเชยค่าเสียหายต่ออวัยวะ โดยกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน ดังนี้ เช่นค่าทดแทนกรณีหยุดงานไม่เกิด 1 ปี ค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะ ไม่เกิน 10 ปี ค่าทดแทนกรณีทุพพลภาพไม่น้อยกว่า 15 ปี ซึ่งค่าทดแทนทั้งหมดนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎของสำนักงานประกันสังคม โดยการนำเอาเอกสารหลักฐานการเข้ารับการรักษาตัว จากโรงพยาบาลมายื่นให้กับสำนักงานประกันสังคม เพื่อรับค่าทดแทน ซึ่งกรณีของนายกิตติพร นามวิเศษ คาดว่าจะได้รับค่าทดแทนอย่างต่ำประมาณ 5 แสนบาท จากการทำประกันสังคม

ทางด้านนางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณา ได้กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับเรื่องร้องเรียน ก็ได้สอบถามมายังหน่วยงานในพื้นที่ ซึ่งเป็นการบูรณาการในการประสานงานร่วมกัน อาจจะด้วยสาเหตุของพื้นที่อยู่อาศัยที่ห่างไกล จึงทำให้เกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่เมื่อมีการพูดคุย และประสานงานกันแล้ว ก็ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว
ขณะที่ผู้เป็นแม่ของนายกิตติพร นามวิเศษ ก็ขอบคุณมูลนิธิปวีณา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ยื่นมือให้ความช่วยเหลือจากการร้องเรียนดังกล่าว/.

ภาพ/ข่าว​ มูกะตา หะไร ทีมข่าว@ชายแดนใต้​จ.ยะลา