นายแพทย์ เจริญ สืบแสง กับ กบฎสันติภาพ

0
3829
  • ประวัติศาสตร์การเมืองไทย  8 พฤศจิกายน พ.ศ.2497 ได้เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองในประวัติศาสตร์ไทย ที่เรียกว่า “กบฎสันติภาพ” เหตุการณ์นี้ มีบุคคลสำคัญท่านหนึ่งเป็นคนจังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็น 1 ในแกนนำคนสำคัญในการเดินขบวนประท้วงในครั้งนั้นเขาคือขุนเจริญวรเวช หรือ นายแพทย์เจริญ สืบแสง นั่นเอง ผู้เป็นบุคคลสำคัญซึ่งต้องในจารึกประวัติศาสตร์ปัตตานี@ชายแดนใต้
รูปนี้เป็นตอนที่ติดคุกครั้งแรก กบฏสันติภาพ 2495-2500 คนซ้ายคือ ปาล พนมยงค์ นายแพทย์เจริญ สืบแสง ยังไม่ทราบชื่อ คนขวาสุดคือ ทองใบ ทองเปาน์
ภาพเมื่อครั้งถูกคุมขังที่เรือนจำลาดยาว

– เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จับกุมประชาชนจำนวนมาก โดยอาศัยอำนาจตามความในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 102, 104, 177, 181 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2478 มาตรา 4 ในการจับกุมครั้งนี้ กรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ได้จับกุมบุคคลต่างๆ เป็นจำนวนถึง 104 คน

“ด้วยปรากฏจากการสอบสวนของกรมตำรวจว่า มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมาย ด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย เพื่อก่อให้เกิดการแตกแยก เกิดการทำลายกันเอง โดยใช้อุบายต่างๆ เช่น ปลุกปั่นแบ่งชั้น เป็นชนชั้นนายทุนบ้าง ชนชั้นกรรมกรบ้าง ชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรของประเทศบ้าง อันเป็นการที่อาจจะทำให้เสื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ ให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการชักจูงชาวต่างประเทศเข้าร่วมทำการยึดครองประเทศไทย…”

จากนั้นยังได้ทะยอยจับกุมประชาชนเพิ่มเป็นระยะๆ จนกระทั่งถึงกลางปี พ.ศ. 2496 ก็ยังมีข่าวว่าได้จับกุมและสึกพระภิกษุที่เคยสนับสนุนและเผยแพร่สันติภาพอีก

คดีนี้ อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมทั้งสิ้น 54 ราย ศาลได้พิพากษาจำคุก บางราย 13 ปี บางราย 20 ปี และได้รับการประกันตัวและพ้นโทษตาม พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เนื่องในโอกาสพุทธศตวรรษที่ 25 ในปี พ.ศ. 2500

พ.ศ.2495 นักศึกษาก็ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านสงครามในยุคสงครามเย็น คัดค้านการส่งทหารไทยไปรบในเกาหลี เพื่อต่อต้านการขยายอำนาจอิทธิพลของจักรวรรดินิยมอเมริกา  รัฐบาลยุคเผด็จการฟัสซิสต์คุกคามกวาดล้างจับกุมและคุมขัง ตั้งข้อหา กบฎสันติภาพ  ผลจากการรณรงค์ดังกล่าวมีนักศึกษาธรรมศาสตร์ถูกจับกุมรวม 19 คน กลายเป็น ขบวนการสันติภาพ

ในวารสาร วิทยาศาสตร์ ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วารสารเฉพาะวิชาดีเด่น ปีที่ 69 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม 2558

ผู้เขียนคุณโสมชยา ธนังกุล ว่า  เดือนสิงหาคม 2495 เกิดสงครามเกาหลี มีตัวแทนนักวิทยาศาสตร์  ,นักเขียน ,นักหนังสือพิมพ์นักศึกษา,ชาวนา,และกรรมกร, ได้ร่วมกันแต่งตั้งองค์การสันติภาพแห่งประเทศไทยขึ้น โดยมีนายแพทย์เจริญสืบแสงเป็นประธานองค์การ   คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์และพระมหาดิลกสุวรรณรัตน์เป็นรองประธาน วันที่ 10 พฤศจิกายนพ.ศ 2495  พลตำรวจเอกเผ่าศรียานนท์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกคำสั่งให้จับกลุ่มสมาชิกขององค์การสันติภาพ ขบวนการรักชาติ ขบวนการคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยรวม 104 คน หนึ่งในจำนวนนี้มีนายแพทย์เจริญสืบแสงรวมอยู่ด้วย (บางส่วนในวารสาร)

ประวัติ  นายแพทย์เจริญ สืบแสง เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445  เป็นบุตรคนที่ 2 ของ ขุนวรเวชวิชกิจ (ซุ้ย สืบแสง) กับนางอุ่น สืบแสง และเป็นพี่ชายของ นายจรูญ สืบแสง สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2466 (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)

นายแพทย์เจริญ สืบแสง เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในช่องจมูก เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2512 สิริอายุรวม 67 ปี

นายแพทย์เจริญ เข้ารับราชการในกรมสาธาณสุข เป็นแพทย์สำรองอยู่ปีกว่า จึงได้บรรจุเป็นแพทย์หลวงประจำจังหวัดปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2468 จนถึง พ.ศ. 2473 ก็ได้ย้ายไปรับตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส และในปีเดียวกันนี้เองก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนเจริญวรเวช”

ใน พ.ศ. 2477 ย้ายไปประจำกรมสาธารณสุข และได้ย้ายกลับปัตตานี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479

ด้านงานการเมือง  นายแพทย์เจริญ ได้เข้าสู่วงการการเมืองในปี พ.ศ. 2479 โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปัตตานี และใน พ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ. 2489 ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองปัตตานี หลังจากนั้นได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานีครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 และได้รับเลือกตั้งรวม 3 สมัย

ครั้งตั้งสาขาพรรคเสรีมนังคสิลา ที่บ้านฮัจญีสุหลง โต้ะมีนา
ถ่ายกับเพื่อนมุสลิมยังไม่ทราบปีรายละเอียด ฉากหลังเป็นพระที่นั่งอนันตสมาคม

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

นายแพทยเจริญ สืบแสง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489จังหวัดปัตตานี
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491จังหวัดปัตตานี
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500จังหวัดปัตตานี ไม่สังกัดพรรคการเมือง

ข้อมูล โดย/ภาพ คุณเฉลิมชัย สืบแสง  FB นายแพทย์เจริญ สืบแสง และ วิกิพีเดีย