อ.ปะนาเระ เป็นท้องถิ่นพื้นที่นาข้าว ผืนใหญ่และแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญมาแต่อดีต ภูมิสภาพแวดล้อม เป็นพื้นราบลุ่มสลับกับภูเขาและไม่ห่างจากทะเล มีผืนดินดีเหมาะสมกับเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญและคงความอุดมสมบูรณ์  ณ.บ้านสุเหร่าต.ท่าน้ำ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานีเป็นตัวอย่างที่มีการจัดการตนเองได้น่าสนใจ. หลังจากสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมมูลนิธิปิดทองหลังพระ สร้างโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบจ.ชายแดนภาคใต้ เข้ามาส่งเสริม และให้ความรู้ การบริหารจัดการการเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้กับประชาชน 5 หมู่บ้าน รวมเกษตรกร 51ราย ในระยะเวลา5 ปี ยังได้จัดตั้งกองทุน 2 กองทุน คือกองทุนเมล็ดพันธ์และกองทุนปุ๋ย สมาชิกสามารถได้ปลูกพืชผักสวนครัว การปลูกเห็ดฟางด้วยทลายปาลม์ ลดต้นทุนลงและยังได้บริโภคใช้ในราคาถูก ลดต้นทุน

ด้านปศุสัตว์ โครงการเลี้ยงแพะต้นแบบ  ยังสามารถพิสูจน์ผ่านการพิจารณาโครงการ  ได้รับแพะพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ และ ทางมหาลัยสงขลานครินทร์ร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระฯสนับสนุนการก่อสร้างคอกแพะแบบมาตรฐาน กำหนดรูปแบบการควบคุมเชื่อมโยงกับสูตรอาหารเสริม เพื่อสุขภาพแพะ รวมทั้งทำชุดความรุ้ด้านต่างๆรอบด้านอย่างมีคุณภาพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างยั่งยืน

นางสุนีย์ ชุมนพรัตน์ ประธานกลุ่มเลี้ยงแพะต้นแบบ กล่าวว่าทางสถาบันฯ ลงมาเก็บข้อมูลอยู่ 3 ปีได้สมาชิก 5 คน จากนั้นไม่นานสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชทานแพะสายพันธ์เบงกอลมาให้ นำความรู้สึกปลาบปลื้มมาก จากนั้นทางมูลนิธิได้มาช่วยเรื่องคอกอีก ท่านสอนให้เราช่วยเหลือตัวเองรู้จักยืนได้ด้วยลำแข้งตนเอง มีการตั้งกองทุนหมุนเวียนในกลุ่มตนเองและมีการแบ่งปัน สมาชิกในกลุ่มและเพื่อนบ้านสามารถต่อยอดรายได้ในอนาคต สิ่งที่ได้คือรายได้ครอบครัวดีขึ้น มีเงินหมุนเวียนตลอดปี ลูกแพะราคาเริ่มตั้งแต่ 2พันบาท-ตัวผู้ 10,000 บาท ดีใจมากๆถือเป็นโอกาสดีของคนท่าน้ำ มีรายได้ มีกินมีอยู่ อยู่ดีมีสุขใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สำเร็จใช้ได้จริงค่ะ

ในด้านการจัดการแหล่งน้ำ ชาวบ้านที่นี่
มีฝายน้ำอยู่บนภูเขาและมีแหล่งน้ำจากโครงการสร้างฝายพระราชดำริฯ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินธรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯเมื่อหลายปีมาแล้ว แต่ขาดการดูแลมานาน จนฝายเก็บน้ำเกิดพังลงมาบางส่วน หน้าดินพัง หลังจากเกิดปัญหาขึ้น ทางมูลนิธิฯได้เข้ามาอบรมให้ความรู้แก่ชุมชน สร้างสามัญสำนึกสร้างความเข้าใจ ในคุณประโยชน์ที่มีอยู่ และรู้จักการบริหารจัดการน้ำ

ต่อมาชาวบ้านจึงระดมกำลังทั้งแรงกาย แรงใจ มาช่วยกันจัดการน้ำ ทำระบบประปาในหมู่บ้านเพื่อใช้อุปโภคบริโภคได้อีกครั้ง
 กัสมัน แวกะจิ เจ้าหน้าทีดูแลงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯกล่าวว่า”เราได้เข้าใจและเล็งเห็นร่วมกันว่าการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตรัสว่าต้องดูแลน้ำต้องมีการจัดการเริ่มที่พัฒนาแหล่งน้ำก่อน ในต.ท่าน้ำเดิมชาวบ้านมีฝายครั้งที่พระองค์ได้สร้างไว้ซึ่งเกิดปัญหาจนใช้งานไม่ได้

เมื่อเรามองเห็นร่วมกันจึงมาช่วยคนละมือปรับปรุงใหม่ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง ทางสถาบันฯได้สนับสนุนอุปกรณ์และชาวบ้านร่วมมือสละแรงงาน ตอนนี้ชาวบ้านสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้ง 5 หมู่บ้านแล้ว ทั้งด้านการเกษตร นาข้าว ทำไร่ ด้านเกษตรทุกอย่าง ทำให้ประชาชนมีความสุขขึ้นมาก ทุกคนยืนยันว่าจะรักษาให้ยั่งยืน และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแก่ลูกหลานต่อไป

ทีมข่าว@ชายแดนใต้ จ.ปัตตานี