มิงกาลาบา Myanmar สวัสดี Mandalay#2 masjid in Mandalay

0
453

Masjid in mandalay
เพราะ Myanmar เป็นประเทศ ทีมีปัญหาอยู่มากในการบริหารจัดการ รัฐบาลเหมือนจะรักษาอำนาจให้นานๆ ปล่อยให้ประชากรของเขาดิ้นรนเป็นอย่างมาก เราพบความเหลื่อมล้ำของสังคมเกิดขึ้นมากทุกพท. รถยนต์ที่ใช้ที่นี่ มีรถหรูค่ายยุโรปและญี่ปุ่น ระดับรุ่นใหม่ๆ รุ่นดังๆ ขับกันเยอะมาก ในขณะที่”เกวียน”ยังมีใช้พบเห็นอยู่มากทั่วไปเช่นกันตามเขตชานเมืองจนถึงชนบท

ร้านข้าวแกงท้องถิ่น

บ้านที่อยู่อาศัยของชาวบ้านแบบผนังสานไม้ไผ่เดิมๆ ใช้ไฟถ่านหุงอาหาร เลี้ยงวัวแพะอยู ใต้ถุนบ้าน เหมือนเราย้อนดูบ้านชนบทในอดีตในบ้านเรา สลับกับบ้านตึกมาตรฐานเรียงราย หรูหราอยูทั่วไป เห็นอยู่อย่างคือพวกเขามีความปราณีตคล้ายกับเรา ในการปลูกบ้านเพิ่มตกแต่งความสวยงาม แต่ชอบอยู่อย่างนึงที่ผู้คนแม้จะสูงล้ำอย่างไรพวกเขาจะนุ่งโสร่งไปไหนมาไหนเป็นวัฒนธรรมที่ภาคภูมิใจ แม้จะถูกตะวันตกยึดครองมานานหลายทศวรรต แต่เขาก้ไม่ได้นิยมเปลี่ยนมานุ่งกางเกงเลย(โสร่งสบายจริงๆ มลายูอย่างเราก้ชอบ)

แวะละหมาดมัสยิดโบราณแห่งหนึ่งระหว่างทางหลวงไปเมืองอังวะ

#วันแรก ด้วยคนMyanmar เป็นเมืองพุทธไม่เข้าใจอาหารฮาลาลมากนัก ทางคณะเราต้องการให้ไกด์ เปลี่ยนร้านอาหารซีฟูดเป็นร้านฮาลาลของมุสลิม วันต่อๆมาเราจึงได้สัมผัส
คนมุสลิมในมัณฑาเลย์ และได้ข้อมูลพบว่ามีมัสยิดในมัณฑาเลย์ จำนวนไม่ต่ำกว่า 40แห่ง แยกชาติพันธ์เข้าไปอีก เช่นกลุ่มปาทาน จีน กาลา พม่า ชีอะห
มัสยิดมีมาตรฐาน และระบบเดียวกันทั่วโลกคือในมัสยิดมีรร.พื้นฐานสอนศาสนาเด็กๆตั้งแต่วัยเยาว์อยู่ด้วยทุกมัสยิด

มัสยิดแรกเราแวะจอดอยู่ใจกลางเมือง ติดแอร์อย่างดี มีบ่อน้ำชำระล้างอยู่ บริเวณด้านข้าง มีการตกแต่งสวยงามทั้งโดม หอมินาเรท และอักษรประดิษฐ เป็นสถาปัตยกรรมแบบผังวางแบบเดียวกันกับเรามีกลิ่นไอจากวัฒนธรรมอินเดียอย่างเห็นได้ชัด
มัสยิดที่2เป็นมัสยิดจีน เป็นมัสยิดอย่างวัฒนธรรมจีน วางผังแบบคล้ายๆกับมัสยิดบ้านจีนฮ่อที่เชียงใหม่ โดดเด่นด้วยโดมทรงศาลาแปดเหลี่ยมมีหลังคาแบบเก๋งจีน แบบยอดหลังคาหอคอยแบบจีนเลย มีการตกแต่งสวยงาม มีสโมสรและหอประชุมสำหรับจัดงานทั่วไป วันที่เราไปนั้นพบงานแต่งงานของมุสลิมด้วย ทางคณะเราจึงได้เกียรติเป็นแขกร่วมทานอาหารแสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาว ด้วย
มัสยิดที่3 เป็นมัสยิดโบราณ เราจอดแวะละหมาดอยู่ริมถนนระหว่างทางก่อนจะไปอังวะ หลังนี้มีป้อมด้านหน้า เป็นเหมือนมินาเรทหรือหออาซานและตัวอาคารจะอยู่ทางด้านใน ส่วนนอก อาคารมีบ่อน้ำร้างขนาดใหญ่คล้ายกับบ่อบ้านเรา ปัจจุบันหลังนี้กำลังปรับปรุง แต่ที่นี่มีภาพถ่ายเก่าให้ชมด้วย ผมสนใจหลังนี้มากอยู่พอสมควร


หลังที่4 มัสยิดของนิกายชีอะห
มัสยิดของชีอะหองคประกอบคล้ายๆกัน แต่จัดวางผังประกอบศาสนกิจไม่เหมือนกันกับมัสยิดสายซุนนี จะเพิ่มเติมเป็นโถงแบบโล่งๆไว้ประชุมและประกอบพิธีกรรมมากกว่า ที่นี่เราพบอาคารมัสยิดมีกลิ่นไอของฮินดูอินเดีย มีสีสัน และตกแต่งสวยงาม ระหว่างเดินเท้ามาเราเห็นวิถีชุมชนไปด้วย
ถ้ามีเวลามากกว่านี้ คงได้งานวิจัยแน่เลย น่าค้นหาและน่าจะยังไม่มีใครเขียนบันทึกไว้แน่ๆเลยเพราะถือว่าพม่ายังเป็นประเทศที่ปิดอยู่ ในความรุ้สึกของผม.

สุกรี มะดากะกุล บก.@ชายแดนใต้