ที่มาของคำเรียกว่าแขก ทำไมฤา?  จากในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ยุครัชการที่1จนมาถึง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ได้ ทรงดำริให้สร้างวัดวาอาราม และปฏิสังขรณ์ บูรณะวัดโบราณต่างๆในเมืองบางกอก รับสั่งให้ฟื้นฟูพุทธศาสนาขึ้นมาจำนวนมาก ได้ปฏิสังขรณ์วัดสำคัญเช่นวัดพระเชตุพนวัดโพธิ์ วัดพระอารามหลวง อีกหลายแห่ง ที่วัดโพธ์นี่เอง ที่บันทึกความเป็นมาของคำเรียกแขกชื่อคนต่างชาติต่างภาษา ที่มาอาศัยอยู่ในสยามประเทศ

บันทึก ภาษาต่างชาติ ในสยาม

หลังจากที่ได้ ปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แล้ว ช่าง และอาลักษณ์ในพระราชสำนักได้เขียนคำจารึกเป็นโคลงประกอบ และรูปหล่อ อยู่ตามศาลาราย 16 หลังของวัดโพธิ์ ว่าด้วยชนชาติต่างๆ 32 ภาษาหลากหลายชาติพันธ ด้วยกัน
และที่วัดพระเชตุพน โบสถ์ จารึก เขียน เป็นภาพบนบานหน้าต่างพระวิหารทิศต่างๆมีภาพเขียนชาวต่างประเทศชาติต่างๆ ประกอบไปด้วย
เพราะในเมืองบางกอกหรือกรุงเทพขณะนั้นเป็นที่รวมของบรรดาแขกต่างชาติต่างภาษามากมาย
ชางไทยจึงยังติดคำเรียกคนชาติพันธ์อืื่นๆมาจวบจนทุกวันนี้ ชาวมุสลิมเรียกแขก ชาวจีน เรียกเจ้ก ชาวพม่าเรียกมอญ เป็นต้นฯ

แสดงภาพชาวอาหรับหริอชาวต่างชาติมุสลิม คนหนึ่งเหน็บอาวุธกริช อีกคนหนึ่งเหน็บดาบ

โคลงภาพคนต่างภาษา ได้บันทึกบอกเล่า ถึงที่มา อย่างกระชับ นึกถึงภาพ การแต่งตัว บุคลิกจารีตประเพณีของชนชาติต่างๆ ดังยกมา3ชาติดังนี้
ภาพไทย
รูปสยามงามนุ่งแม้น แมนมาผจงฤา

นคเรศสฤษฎิรักษ์เรือง ฤทธิตั้ง

มาตยาอโยธยา. ยลขนาด นี้พ่อ

ระบือเดชทั่วทั้งหล้า. แหล่งแสยง ฯ
อัดตลัดพิลาสเสื้อ. สวมตน
ปูมนุ่งพุงพัสตรถแมง. โอบอ้อม.

รังสรรค์สกัลสกนธ์. รจิตร โอ่ เอย

แสดงแห่งหอไท้พร้อม เพริศพอ ฯ
กรมหมื่นนุชิตชิโนรส
ภาพ อาหรับ          
อาหรับภาพพวกนี้ แต่งกาย

เสื้อเศวตโสภณกรอม. ค่อเท้า

กางเกงวิลาศลาย . แลเลี่ยน

จีบจะดัดเกี้ยวเกล้า. ต่างสี ฯ
เครื่องดำหมวกเสื้อเปลี่ยน แปลกตัว
ปางฮุเซ็นถึงปี ป่าวพ้อง
ลุยเพลิงควั่นหัวจน โลหิต ถั่งนา
เต้นตบอก เร่าร้อง ร่ำเซ็น
. . กรมหมื่นไกรสรวิชิต
ภาพมะลายู
ใส่เสื้อชนิดน้อยโพก. ผ้าตบิด

ชาติแขกมลายูหลาย. เหล่าเชื้อ

เขียนคาดปั้นเหน่งกฤช. เหน็บแนบ เอวแฮ

กุมหอกคูเคื้อ. ง่ารำ ฯ
เข้าสุเหร่าข้อนอกแทบ ถอดใจ
อ่านมุหลุดลำนำ สอดคล้อง
ยะหริ่ง แปะไหรไทร มุหงิด ก็ดี
เพลงประพฤติพร้องต้อง อย่างกัน.
กรมหมื่นไกรสรวิชิต


##จากหนังสือ คนแปลกหน้า นานาชาติของกรุงสยาม โดย ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ม.วลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉ.พิเศษ