แม่ทัพ ภาค 4 ร่วมกับ กฟผ.สานต่อโครงการบ้านปลาปะการังเที่ยมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล จำนวน 432 ชุด เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติ พบมีปะการังใหม่และพันธุ์ปลาหลายสายพันธุ์เข้ามาอาศัย


ณ ลานสนามสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมง อ.เมืองนราธิวาส พลโท ปิยวัตน์ นาควานิช แม่ทัพ ภาค 4 เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า บริเวณบ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส จำนวน 432 ชุด

เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกร บดินทรเทพวรางกูร โดยทาง กอ.รมน.ภาค 4 ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ จัดโครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยถ้วยฉนวนไฟฟ้า เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา โดยมีนายธรรมรงค์ คงวัดใหม่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส นายพล ขวัญนุ้ย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้ากองกำลังตำรวจ ทหาร ภาคเอกชน ชาวบ้าน ร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก


นายนุ้ย ขวัญนุ้ย ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการภาคใต้ กล่าวว่า โครงการวางบ้านปลาปะการังเทียมด้วยถ้วยฉนวนไฟฟ้า เป็นโครงการที่ กฟผ.จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556 เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินินาถ ในรัชกาลที่ 9 ในการช่วยเหลือชาวประมงขนาดเล็กที่ประสบความเดือดร้อนจากความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง โดย กฟผ.ได้นำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าที่ถูกปลดออกจากระบบส่งของ กฟผ.มาดัดแปลงสร้างเป็นกะการังเทียม ให้เป็นแหล่วที่อยู่อาศัยของปลา สัตว์ทะเล

รวมถึงปะการังจริง โดยดำเนินการร่วมกับหน่วยงานราชการในจังหวัดต่างๆและชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลในพื้นที่โครงการ สำหรับ จ.นราธิวาส นับเป็นการวางบ้านปลาครั้งที่ 2 ซึ่งจากการดำน้ำสำรวจพบว่า มีการเกิดปะการังใหม่อย่างรวดเร็ว และเป็นแหล่วอนุบาลของปลาได้เป็นอย่างดี โดยพบว่ามีปลาหลากหลายสายพันธุ์ได้เข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จของโครงการสร้างบ้านปลา กฟผ.และจำทำต่อยอดขยายไปในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยต่อไป
ด้าน ผศ.ดร.ธีรกมล เพ็งสกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เปิดเผยว่า จากผลการวิจัยในโครงการทอสอบลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าภายใต้สภาวะจำลองสภาพแวดล้อมทางทะเล เพื่อศึกษาและทดสอบโครงการสร้างจุลภาคของผงลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้าด้วยเทคนิคพิเศษและตรวจสอบปริมาณการชะละลายของสารจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ารวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงของความเค็ม ความถ่วงจำเพาะ และการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ พบว่าลุกถ้วยฉนวนไฟฟ้า มีความสามารถในการละลายได้ แต่ไม่พบการละลายของโลหะหนักที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต และไม่ส่งผลเสียต่อคุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอนุรักษ์แหล่งปะการัง โดยอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ดี กรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยกำหนด ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการนำลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ามาใช้ทำเป็นโครงการแหล่งอาศัยให้สัตว์ทะเลจึงสามารถทำได้ และไม่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมทางทะเลแต่อย่างใด


ทั้งนี้ระยะเวลากว่า 5 ปี กฟผ.ได้ดำเนินการโครงการวางบ้านปลาปะการังด้วยลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้ารวมทั้งหมด 7 ครั้ง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.ปัตตานี และ จ.นราธิวาส ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศบริเวณชายฝั่งทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งเพาะพันธ์ปลาสร้างรายได้ให้กับชุมชนและประมงพื้นบ้าน และยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างยั่งยืนอีกด้วย.

ภาพ/ข่าว แวดาโอะ หะไร บก.@ชายแดนใต้ จ.นราธิวาส