เมื่อวันที่ 4 กันยายน เวลา10.00 น.ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผวจ.ยะลา เป็นประธานในพิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วยหินและการใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วยหิน โดยมีเกษตรกร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม เพื่อนำความรู้กลับไปแก้ปัญหาโรคเหี่ยวกล้วยที่กำลังระบาดในเวลานี้

ตามที่ ได้เกิดการระบาดของโรคเหี่ยวในกล้วยหินในพื้นที่จังหวัดยะลา โดยในจังหวัดยะลามีพื้นที่ปลูกกล้วยหิน 2,760 ไร่ พบพื้นที่ระบาดของโรคเหี่ยวในกล้วยหิน จำนวน 2,424 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 87.82 เกษตรกรได้รับความเสียหาย 1,210 ราย โดยพบระบาดในทุกอำเภอ ได้แก่ อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา อำเภอเบตง อำเภอกรงปินัง อำเภอยะหา อำเภอรามัน อำเภอเมืองยะลา และอำเภอกาบัง แต่เนื่องจากโรคเหี่ยวในกล้วยหินเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งมีแนวโน้มการระบาดที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด เพื่อลดการระบาดของโรค

นายสมโชค ณ นคร เกษตรจังหวัดยะลา เปิดเผยว่าสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา ได้ดำเนินการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการระบาดของโรคเหี่ยวในกล้วยหินอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการในรูปแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โดยได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการระบาดโรคเหี่ยวในกล้วยหิน จังหวัดยะลา เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน การออกมาตรการต่างๆ ในการควบคุมและป้องกันการระบาด      ของโรคดังกล่าว รวมทั้งการจัดทำแปลงต้นแบบในการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหิน             เพื่อเป็นแปลงที่ใช้ในการเรียนรู้ และทดสอบวิธีการในการกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหินที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยอ้างอิงตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งผลการทำแปลงทดสอบปรากฎว่าวิธีการดังกล่าวสามารถควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคเหี่ยวกล้วยหินในพื้นที่ได้

นายสมโชค  ยังเผยว่าสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา และกรมส่งเสริมการเกษตร จึงได้จัดอบรม เรื่องการควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วยหินและการใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วยหิน มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้การควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วยหิน การใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วยหินการสังเกตอาการ การวินิจฉัยโรคเหี่ยวในกล้วยหิน และแนวทางการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหินในพื้นที่ โดยมีความมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง โดยมีบุคคลเป้าหมายได้แก่ เกษตรอำเภอ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับจังหวัด ระดับอำเภอทุกคน และเกษตรกรผู้นำ ได้แก่ ประธานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ประธานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน รวมทั้งสิ้น 100 คนสำหรับหลักสูตรการอบรมกิจกรรมนี้หัวข้อวิชาประกอบด้วย1) การสังเกตอาการและการวินิจฉัยโรคเหี่ยวในกล้วยหิน  การสังเกตอาการและการวินิจฉัยโรคตายพรายในกล้วย 3) การควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วยหิน   การใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรคเหี่ยวในกล้วยหิน และ  แนวทางการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหินในพื้นที่ โดยได้รับเกียรติวิทยากรที่มีความรู้จากหน่วยที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้

ภาพ/ข่าวมูกะตา หะไร ทีมข่าว@ชายแดนใต้ จ.ยะลา