กริชอาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียนปี 60 ปัตตานีจัดยิ่งใหญ่

0
1260

กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับจังหวัดปัตตานีเปิดโครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข  กริชอาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียนปี 60

นายกฤษศญพงษ์  ศิริ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมเป็นประธานเปิดโครงการวัฒนธรรมเชื่อมใจชายแดนใต้สันติสุข  กริชอาภรณ์ ภูมิปัญญาอาเซียนปี 60   เปิดพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีคณะจากอินโดนีเซียมาเลเซียสิงคโปร์และ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเรื่อง กริชและผ้าเครื่องแต่งกาย

เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  สร้างภาพลักษณ์เกียรติภูมิของไทยสู่เวทีโลก กระทรวงวัฒนธรรมคาดหวังการจัดงานครั้งนี้ จะให้ส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจรักและหวงแหนมรดกวัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในการสืบสานปกป้องคุ้มครองมรดก  และนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างคุณค่าทาง

ภายในงานปีนี้ จัดสรรอย่างยิ่งใหญ่ทั้งด้านความรู้และการแสดง แฟชั่นโชว์ชุดโบราณอย่างอลังการ  เช่น  การแสดงดนตรีพื้นบ้าน,การรำกริชและรำไม้เท้า , การแสดงสิลัต ศิลปะป้องกันตัว ,การเสวนาเรื่องกริชปัตตานี ,การสาธิตธรรมเนียมการแต่งกายของสมาคมอนุรักษ์อาภรณ์จากมาเลเซีย, มีการเสวนาเรื่องแพรผ้าอาภรณ์ปัตตานี และมีการจัดนิทรรศการที่สนใจเกี่ยวกับศาตราวุธโบราณซึ่งหาชมได้ยาก และผ้าโบราณเก่าแก่จากนักสะสมที่ตกทอดมาจากต้นตระกูล บางชิ้นอายุเกือบ 300 ปี

นายกฤษศญพงษ์  ศิริปลัดกระทรวงวัฒนธรรมประธานเปิดพิธี เปิดเผยว่า การจัดงานครั้งนี้นับว่าเป็นการตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล ที่ส่งผลโดยตรงต่อท้องถิ่นและมีการพัฒนาและเกิดความรักของแผนมรดกวัฒนธรรมปกป้องคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมและนำมาสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะได้รับความรู้และมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องอาวุธโบราณ กริชผ้าและเครื่องแต่งกายโดยได้รับความร่วมมือจากประเทศต่างๆเช่น มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  สิงคโปร์  เวียดนามและบูรไน มีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องโลหะในประเทศไทยเข้าร่วมกิจกรรมหวังว่าจะได้นำความรู้รวบรวมองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่สู่คนรุ่นใหม่สืบทอดอนุรักษ์และพัฒนาสร้างอาชีพ พัฒนาเศรษฐกิจได้ต่อไป

นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีกล่าวว่าจังหวัดปัตตานีมีความเป็นผหุวัฒนธรรมที่ชัดเจน ยังมีหลักฐานที่ปรากฏชัด ทางประวัติศาสตร์มากมาย ผมเชื่อมั่นว่า การจัดงานครั้งนี้จะนำไปสู่การจัดเก็บองค์ความรู้ด้าน ศาสตราวุธ องค์ความรู้เรื่องกริช ผ้า และเครื่องแต่งกาย เพื่อหาหนทางในการสืบสาน อนุรักษ์ พัฒนาและเผยแพร่ให้เยาวชนและผู้ที่สนใจได้ศึกษาและร่วมอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรมด้านนี้ให้คงอยู่ต่อไป

นายประยูรเดชคณานุรักษ์ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานีระบุว่าผลิตเป็นอาวุธประจำตัวที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในสมัยก่อน นิยมใช้กันมากในประเทศอินโดนีเซียมาเลเซียบรูไนฟิลิปปินส์และประเทศไทย สำหรับประเทศไทยนิยมในหมู่ชาวไทยและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ที่มีบทบาทเป็นทั้งอาวุธและเครื่องประดับขายที่บ่งบอกถึงความเป็นชายชาตรีที่แสดงถึงความกล้าหาญสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้เป็นเจ้าของเป็นของตระกูล สำหรับเครื่องแต่งกายจังหวัดปัตตานีเป็นจังหวัดหนึ่งในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีการแต่งกายซึ่งมีความนิยมที่เหมือนกันและการนุ่งโสร่ง สิ่งเหล่านี้เป็นภูมิปัญญา ฉันสามารถออกยอด เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบ การผลิต และการสะสมกริชและเพื่อส่งเสริมกิจกรรมที่เป็นมรดกร่วมในการสร้างความสัมพันธ์ของอาเซียนและเพื่อให้เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของผ้าปัตตานีและเพื่อส่งเสริมสนับสนุนฟื้นฟูและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการแต่งกายและเพิ่มบทบาทขององค์กรเครือข่ายของทางวัฒนธรรมในพื้นที่ เป็นอย่างดี