โตะนิกตอนที่ 4 รายารามันหรือผู้วิเศษ?

0
4363

ตอนที่ 4 เกี่ยวกับเรือนเล็กเมืองโบราณ บ้านกาแป๊ะ โกตา และที่มาโรงเรียนโรงเรียน เบตง วีระราษฏร์

(ข้อมูลโดย อิสมาแอล สาเระ) นักประวัติศาสตร์มลายูเบตง
กาแปะ โกตา (kapeh kota )เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในสุด หรือเป็นหมู่บ้านสุดท้าย ในบรรดาหมู่บ้านที่มีชื่อ นำหน้า ว่า กาแปะ ทั้งหลาย กาแป๊ะโกตา เป็นอีกสถานที่หนึ่ง ที่มีเรือน รอง ของรายารามันในอดีต นอกเหนือ จากที่มีเรือนในเบตงแล้ว คนส่วนมากจึงเข้าใจว่า เรือนอดีต รายารามันอยู่ที่กาแปะ โกตา เพียงแห่งเดียว เรือนที่นี่เป็นเรือนขนาดเล็ก มีเนื้อที่ไม่มาก เข้าใจว่า เป็นที่หลบซ่อนของรายรามันและครอบครัว ยามมีภัย สงคราม

ได้ฟังจากการ เล่าของ อัลมัรฮูม อิสมาอีล บือนา ( หลานตา อัลมัรฮูม อับดุลเลาะห์ มะสาลัม   ลูกชาย ของ อัรมัร ฮูม เจ๊ะโด มะสาลัม อดีตกำนัน ต.เบตง คนสุดท้าย )ว่า ครั้งหนึ่ง ทางรัฐ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ เข้ามาควบคุมใครบางคนที่เรือนแห่งนี้ ในราวปี พ.ศ. 2444-2445

มีบางรายงานว่า บ้านกาแปะ โกตา แห่งนี้ ในอดีตเคยเป็นที่พำนัก ของ รายาเบอซียง ( รายาที่มีเขี้ยว) และภายหลังจึงตกอยู่ในอาณัติเมืองรามัน ตามตำนานที่มีการเล่าต่อ ๆกันมามาว่า รายา เบอร์ซียง นับถือศาสนาฮินดู อยู่ในยุค เกอดาฮ์ โบราณ (เกอดาห์ โบราณ(คริศตวรรษที่ 3-15) เป็นอาณาจักร์มลายู เป็นที่รู้จักในยุคนั้น อาณาจักร์นี้ ที่ตั้งอยูบน คาบสมุทร์ มลายู ในชื่อ ต่างๆ เช่น กาตาฮ, กาดารัม, กาลาฮ, บาร์, และ กาลาการัม จากบันทึก ของ tsing yijing (ราว 635-715 ยุคราชวงค์ถัง) เกอดาห์ มีอีกชือคือ เชฮ-ชา (cheh-cha)

รายา เบอซียง เป็นชื่อเรียก ราชา คนหนึ่ง ของ เมือง เกอดาฮ์ ( เคดาฮ์) kedah ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ ลึมบา บูจาง ( lembah bujang) มีชื่อจริงว่า รายา อง มาหา เปอริตา เดอเรีย ( raja maha perita deria ) เป็นรายาคนที่ 4 ที่สืบเชื้อสายมาจาก ราชา แม รง มาหา วัง สา ( raja merong maha wang sa)

เมืองโบราณ บ้านกาแป๊ะ โกตา(Kapeh Kota)ปัจจุบัน ทางเทศบาลเมืองเบตง ได้เข้าไป ฟื้นฟู พัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ ของเบตง มีเอกสารเผยแพร่ที่แสดงใว้ ระบุว่า ที่นี่เคยเป็น วัง ของรายา เบอซียง (Raja Bersiong )หรือ รายา ที่มีเขี้ยว
******มัรฮูมใช้เรียกคนมุสลิม ชายที่เสียชีวิตแล้ว*****


พิพิทธภัณท์เมืองเก่า บ้าน กาแปะ โกตา ( Musium Kapeh Kota , Betong , Yala)

ภาพ  โรงเรียน เบตงวีระราษฏร์ ประสาน( sekolah kebun raja ) อาคารหลังเดิม สร้าง ในปี พ.ศ. 2500.และสร้างเพิ่มเติมอีกหลายครั้งจนได้อาคารที่สมบูรณ์

ตามประวัติ ที่ดินที่ตั้ง ของ โรงเรียน เบตง วีระราษฏร์ ประสานในปัจจุบันนี้ เดิมเป็นที่ดืน ในการครอบครองของอดีตรายาเมืองรามัน และตกทอดถึงรุ่นลูกรุ่นหลานตลอดมา หลังจากมีการยกเลิกระบบเจ้าเมืองแล้ว ที่ดินแปลงนี้ก็ยังคงอยู่ในการครอบครอง ของครอบครัวอดีต รายาเมืองรามัน บนที่ดินแปลงนี้ มีเรือน อยู่ 2-3 หลัง มีสภาพทรุดโทรม ก่อนที่ที่ดินแปลงนี้จะเปลี่ยนมือ มาอยู่ในการครอบครองคนอื่น

เจ้าของที่ดินเองก็ไม่ได้อาศัยอยู่ที่เบตงแต่ประการใด มีคนอื่นเป็นผู้ดูแลคือ นายวันจิ บือนา ( Wan Cik ) ทรัพย์สินมีที่ดินแปลงนี้และที่อื่น ๆ อีกหลายแปลง เรือนบนที่ดินแปลงนี้ช่วงหลังๆ ผู้ที่อาศัย มี ต่วน จือรืนิฮ ( Tuan Jernih) ต่วนมานยา (Tuan manja) และต่วนจิ ( Tuan Cik )จะอาศัยอยู่ที่เรือนที่เบตง ก่อนจะเดินทางไปอาศัย ใน สหพันธรัฐ มาลายาเป็นการถาวรในเวลาต่อมา ที่ดินแปลงนี้ในที่สุด ก็ตกอยู่ในการครอบครองของ คหบดีคนหนึ่ง ( จีน) ใน เบตง ชื่อ นาย วีระ ตัณทปุตตะ( แป๊ะลิ้ม) มีบางรายงาน ว่าภายหลังจากมีการพิพาทแย่งชิงกรรมสิทธิ์ ในที่ดินแปลงนี้ ระหว่าง เจ้าของเดืม กับ ผู้ ครอบครองคนใหม่ ได้มีการประนีประนอมจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้แก่ทายาท เจ้าของที่ดิน จนพอใจเ เรื่องจึงยุติลง

แต่มี บางรายงานก็บอกว่าทายาทที่แท้จริงไม่ได้รับเงินตามที่มีการพูดกันแต่อย่างใด ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินคนใหม่เป็นคนจีนได้ยกที่ดินแปลงนี้ให้กับทางราชการ และกลายมาเป็นที่ตั้งของโรงเรียน เบตง วีระราษฏร์ประสาน อย่างเช่นปัจจุบันนี้

นาย วิศัลย์ อริยปัญญา บอกว่า เขาได้ฟังเรื่องจากผู้เฒ่า ว่า ที่ดินแปลงนี้ นาย วีระได้มา จากการต่อสู้คดีบนศาลเบตง ในกรณีย์ ครอบครองปรปักษ์

สำหรับรายนามของทายาท รายา รามัน ที่เคยเป็นเจ้าของที่ดิน ชื่อเหล่านั้นได้รับถ่ายทอด ต่อ ๆกันมา ไม่ได้มีบันทึกใด ๆใว้ ชื่อ และการเรียงลำดับอาจจะไม่ถูกต้องนักก็เป็นได้ ท่านอาจจะหาพบได้ในแหล่งอื่นทีอาจจะเขียน แตกต่างกันไปบ้าง

คุณ ชิต นุกุลเชาว์ เขียนในหนังสือ “ วีระราษฎร์อนุสรณ์” ( พศ2505) ใว้ว่า คำว่า เบตง มาจากคำว่า “ บืต๋ง” ซึ่งเป็นภาษา มาลายู แปลว่า “ ไม้ไผ่” ชนิดหนึ่ง ( เนื้อแข็ง หนา ที่เอามาทำระนาด) โดนเหตุที่ในเบตงมีไม้ไผ่ชนิดนี้มาก และลำต้นโตด้วย ชาวบ้านจึงเรียกตำบลนี้ว่า “บือตง” ต่อ ๆมาจึงกลายเป็น “เบตง” เป็นชื่อของตำบล และ อำเภอเบตงด้วยประการนี้

สืบตามหลักฐานหนึ่งและฟังผู้เฒ่าผู้แก่เล่าต่อ ๆ กันว่า อำเภอเบตงนี้ขึ้นอยู่กับเมืองรามัน ( เมืองโกตาบารู) คืออำเภอรามันในปัจจุบัน

ในสมัยอดีตเจ้าเมืองรามันเรียกกันว่า “พระยารามัน” ตามที่จำกันได้พระยารามันในสมัยนั้นชื่อว่า “ พระยารัตนภูผาภักดี” มีลูกชาย 1 คน ตั้งเป็นนาย อำเภอเบตงชื่อ “หลวงรายา” หลวงรายา มีลูกชื่อ “ ต่วนมัน” และต่วนมัน มีลูกชื่อ “ต่วนกูยะหยา ( ลูกคนอิ่น ๆ จำไม่ได้) ที่ดินของโรงเรียนเบตง “วีระราษฎร์ประสานแห่งนี้” แต่ก่อนก็เคยเป็นที่ดินของต่วนกูมัน และต่วนกูยะหยามาก่อน

สำหรับผู้ที่เคยอาศัยในที่ดินแปลงนี้ จนกระทั่งมีการเปลี่ยนมือผู้ครอบครองมี นาย ปากซู หะซัน และอีกคนหนึ่งคือ บิดาของ นาย อัจจียีหะมะ บาฮา ( คุณ ปู่ อ.วาสนา บาฮา) นาย วันจิ ทั้ง 3 คน พื้นเพเป็นคนจาก รามัน ( โกตาบารู) เป็นคนที่ได้อาศัย บนที่ดินแปลงนี้เป็นคนสุดท้าย จนกระทั่งเปลี่ยนมือผู้ครอบครองในที่ดินแปลงนี้ สำหรับ บ้านของทั้ง สอง คนที่ได้กล่าวใว้ อยู่ทางด้านตะวันออก (ตรง อาคารหอประชุม สมัยก่อนเป็นสนามบาสเกตบอล) ในสมัยนั้นมีทางเดิน แคบ ๆ ( ถนนรวมวิทย์)เป็น เพียงเส้นทางหลักเส้นทางเดียว ถนนทางด้านทิศเหนือยังไม่มี ( ประชาธิปัตย์) ส่วนนาย วันจิ( บิดาอ.หวังหะมะ) อยู่ทางทิศเหนือ อ.หวังหะมะ บือนา เอง ยอมรับ ว่า ที่ดินที่อาศัย อยู่ ก็เป็น ที่ดินผืนเดียวกัน และได้แยกออกมาภายหลังนั่นเอง………………