มัสยิดรายาสายบุรี สถาปัตยยกรรมมลายูโบราณชายแดนใต้อันล้ำค่า ได้รับรางวัลดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามๆ

0
2938

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ประกาศจาก  โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์ ให้ มัสยิดรายา อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคาร หมวดปูชนียสถานและวัดวาอาราม โดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมป์ ประจำปี 2561

สายบุรี เป็น เมืองเก่าแก่มายาวนานมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และสถานที่สำคัญๆทางโบราณคดีอยู่หลายแห่งที่ยังไม่ได้รับการดุแลมากนัก การประกาศครั้งนี้จึงเป็นแรงผลักดันหนึ่งให้กับพื้นที่

อำเภอสายบุรี เป็นอำเภอเก่าแก่ของจังหวัดปัตตานี ปีพ.ศ. 2428   มีฐานะเป็นเมืองหนึ่งในจำนวน  7  หัวเมือง เรียกว่า  “เมืองสายบุรี”   มีอำเภอในเขตการปกครอง  5  อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอตะลุบัน อำเภอกะลาพอ อำเภอบาเจาะ อำเภอยี่งอ และอำเภอเมืองนราธิวาสพ.ศ. 2444  ยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นกับมณฑลปัตตานี เรียกว่า  “จังหวัดสายบุรี”  มีอำเภอในเขตการปกครอง  2  อำเภอ กับ  1  กิ่งอำเภอ  ประกอบด้วย อำเภอตะลุบัน อำเภอบาเจาะ และกิ่งอำเภอกะลาพอ   พ.ศ. 2475  ยุบจังหวัดสายบุรีลดฐานะเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดปัตตานี  เรียกว่า “อำเภอสายบุรี”  มีกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอสายบุรี  1  กิ่งอำเภอ คือ   “ กิ่งอำเภอกะลาพอ ”  ส่วนอำเภอบาเจาะได้โอนไปขึ้นกับจังหวัดนราธิวาสพ.ศ. 2481  ยุบกิ่งอำเภอกะลาพอให้มีฐานะเป็นตำบลเรียกว่า   “  ตำบลเตราะบอน  ”พ.ศ. 2516  แยกตำบลไม้แก่น และตำบลไทรทอง ตั้งเป็น  “  กิ่งอำเภอไม้แก่น  ” พ.ศ. 2525  แยกตำบลกะรุบี ตำบลตะโละดือรามัน  และตำบลปล่องหอย ตั้งเป็น“ กิ่งอำเภอกะพ้อ ”

เมืองของสายบุรี ตามที่ตั้งเมืองปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2428 โดยพระยาสายบุรี (หนิแปะ) หรือพระยาสุริยสุนทรบวรภักดีฯ ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสายบุรี(ตะลุบัน)คนแรก และเมื่อหลังจากย้ายเมืองมา  ทางเจ้าเมืองสายบุรีขณะนั้นก็ได้สร้างวังเป็นที่พักตัวและสร้างมัสยิดประจำราชวงศ์ขึ้นโดยเรียกว่า”มัสยิดรายา” โดยการสร้างมัสยิดรายา จะเป็นมัสยิดประจำเมืองและเป็นที่ฝังศพของคนในราชตระกูลสายบุรีด้วย

ตัวอาคารสร้างเมื่อปี 2428 พร้อมๆการสร้างวังสายบุรี  และเสร็จพร้อมๆกัน โดยแต่แรกเป็นอาคารก่ออิฐฉาปปูนโครงหลังคาเป็นไม้(โครงสร้างแบบ มินังกาเบา)กระเบื้องดินเผา  โดยอาคารแบ่งเป็น 3 หลังคา  โดยหลังคา 2 ส่วนแรกเป็นพื้นที่ละหมาดและโถงทางเข้าจะเป็นศาลา

ภายหลังประมาณก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง  ได้มีการรื้อศาลาออกและขยายระเบียงรอบๆมัสยิดและยื่นมาเป็นทางเข้าแทนศาลาที่รื้อไปโดยหลังคาใหม่นี้เป็นคอนกรีต ซึ่งการต่อเติมครั้งนี้ได้มีความผิดพลาดด้านโครงสร้างจึงเกิดการพังลงของหลังคาระเบียงและไม่อาจแก้ไขได้จึงมีการสร้างมัสยิดใหม่(มัสยิด ตะลุบัน)ทดแทนและมัสยิดก็ถูกปล่อยร้างมานานหลายปี

ทางเข้าประตูคู่

กรมศิลปากร สำนักงานศิลปากรที่ 13 ร่วมกับทางเทศบาลตะลุบันเข้าสำรวจเพื่อบูรณะ โดยถือเป็นการบูรณะและปรังปรุงครั้งใหญ่มีการรื้อหลังคาระเบียงออกทั้งหมดแล้วเปลี่ยนเป็นหลังคาดินเผา ส่วนที่ยื่นด้านหน้านั้นได้รื้อและสร้างศาลาโดยเลือกรูปทรงที่ใกล้เคียงยุคสมัยที่สุด  ทางเทศบาลได้เข้ามาปรับปรุงเพิ่มห้องน้ำซึ่งของเดิมไม่มี เพื่อรองรับเป็นสถานที่ผู้เดินทาง หรือนักท่องเที่ยว

ภาพถ่ายโดย อ. อะหมัด สมบูรณ์ บัวหลวง

 ปีที่สร้างจากบันทึกกรมศิลปๆ ราวๆ ปี 2428  สถาปนิกผู้ออกแบบ เป็น นายช่างชาวมินังกาเบา จากชวา ไม่ทราบซื่อและและช่างท้องถิ่นภายใต้การกำกับจาก รายาสายบุรี  เป็นอาคารหนึ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้ อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษากันต่อไป

ภาพ/ข่าว สุกรี มะดากะกุล บก.@ชายแดนใต้