สสส.จับมือ 13 อบต.ในพื้นที่ 3 จ.ใต้ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือออกแบบแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่

0
441

 

ณ.โรงเรียนอนุบาลวิทยปัญญานราธิวาส ต.มะรือโบตก อ.ระแงะ จ.นราธิวาส สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดโครงการประชุมเชิงปฎิบัติการเพื่อออกแบบแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายร่วมสร้างสังคมปลอดบุหรี่และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล รวม 13 แห่ง ในพื้นที่ จ.นราธิวาส ยะลา และปัตตานี เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยการเสริมพลังความร่วมมือให้องค์กรหลักในชุมชนทำบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างเต็มประสิทธภาพ

โดยมีองค์กรส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เชื่อมประสานให้เกิดการพัฒนาแนวทางการจัดการกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตและคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งด้านการเมืองการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ สภาวะแวดล้อม และสุขภาพจนเกิดเป็นระบบสนับสนุนการปฏิบัติการต่างๆขององค์กรหลัก แกนนำ กลุ่ม และเครือข่ายของประชาชน ซึ่งส่งผลให้มีผู้นำ แกนนำ มีทักษะในการจัดการชุมชนตนเองมีศักยภาพในการสร้างและนำใข้ความรู้ที่เกิดจากการปฏิบัติการที่ได้ผลดีของชุมชนโดยชุมชนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขับเคลื่อนกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นพลวัตควบคู่ไปกับปฏิบัติการจริงอย่างต่อเนื่อง โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ นายก อบต.ทั้ง 13 แห่ง ผู้นำศาสนา เยาวชน และผู้มีเกียรติเข้าร่วม

นาวสาวดวงพร เฮ็งบุณยพันถ์ ผอ.สนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3.) เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้เน้นศักยภาพของพื้นที่เป็นผู้จัดการ ซึ่งทาง อบต.มะรือโบตก อ.ระแงะ ทำหน้าที่เป็นผู้ศูนย์ประสานงาน ซึ่งมีเครือข่าย รวม 15 ตำบล เข้ามาร่วม โดยไม่เลือกคนภายนอกมาเป็นวิทยากร โดยทาง อบต.มะรือโบตก ต้องเลือกคนในแต่ละพื้นทีไปตกลงกันว่าจะเลือกทำเรื่องคนต้นแบบหรือไม่ หรือ เลิก ละ การสูบบุหรี่ แต่หลักของทาง สสส.ไม่ได้เน้นที่การเลิกสูบบุหรี่ แต่เน้นที่ ละ ลด เลิก และเลิกขาดในพื้นที่ ต.มะรือโลตกและเครือข่ายทั้งหมดนั้น เลิกได้ขาดเท่าไหร่ และมีครอบครัวไร้ควันจะมีคนต้นแบบเลิกเด็ดขาดจำนวนเท่าไหร่ ครอบครัวไร้ควันหรือไม่มีคนสูบบุหรี่ในบ้านเลยเท่าไหร่ และมีชุมชนที่พยายามจะลด เลิกบูหรี่ด้วยการที่ผู้นำ องค์กร มัสยิด ได้รณรงค์และจัดการจนสามารถค่อยๆ ละ ลด หรือเลิกไปในที่สุด

ในส่วนของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น ทาง สสส.พยามบอกไม่จำเป็นต้องไปตามวิธีของพื้นที่อื่นๆ แต่ทาง ตำบลมะรือโบตก จะใช้แนวทางของศาสนาเป็นหลักไปใช้ในกระบวนการให้ความรู้ หรือเชิญชวนชาวบ้าน ด้วยการเดินเยี่ยมตามบ้านที่มีการสูบบุหรี่พร้อมพูดคุยนำหลักศาสนาในการน้อมนำเพื่อให้ชาวบ้านลด ละ หรือเลิก โดยให้ 13 อบต.ที่เข้ามาร่วมในวันนี้นำร่องเพื่อขยายไปยังพื้นที่อื่นๆในโอกาสต่อไป ซึ่งขาดว่า ใน 6 เดือน หรือ 1 ปีข้างหน้านี้ จะขายไปทั้ง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป โดยคาดหวังไว้ 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น เป็นหลัก 2.เด็กเยาวชน โดยจะให้เข้ามามีส่วนร่วมกับเครือข่ายมะรือโบตก รวมทั้ง 27 ตำบล กำลังทำไปพร้อมๆกับเครือข่ายทั้ง 13 แห่งนี้ด้วย โดยไม่ใช่มีเป้าหมายที่บุหรี่อย่างเดียวเพื่อพัฒนาพื้นที่ต่อไป และกลุ่มที่ 3.คือ กลุ่มครอบครัวที่มีเด็ก 1 – 5 ปี มีคนแก่ที่เคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ และมีผู้พิการ ที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้สูบบุหรี่ ซึ่งอาจะต้องใช้เวลา 1 – ปี ค่อยๆลด ละ และเลิกไปในที่สุด โดยวางเป้าที่ 1 ปี ขอเพียง 100 คน ที่เลิกได้ก็ดีใจแล้ว

ด้านนายต่วน ดอเลาะ ตวนกะจิ รองประธานคณะกรรมการอิสลาม จ.นราธิวาส กล่าวว่า ศาสนามีบทบาทสำคัญมากต่อพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการนำหลักคำสอนของศาสนาอิสลามมาเป็นตัวหลักในการสอนให้เยาวชน หรือผู้ที่สูบบุหรี่ได้รับรู้ว่า การสูบบุหรี่นั้น หลักคำสอนของศาสนาอิสลามเองก็ได้ระบุไว้ว่าเป็นสิ่งที่ศาสนาไม่สนับสนุนให้กระทำ ซึ่งนอกจากจะไม่มีประโยชน์ต่อคนสูบแล้ว ยังสร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว คนรอบข้าง และสังคมอีกด้วย ซึ่งผู้นำศาสนาต้องสร้างความรู้ และจิตสำนึกให้เยาวชน ครอบครัว และสังคมให้ตระหนักว่า การสูบบุหรี่ถือเป็นสิ่งที่ศาสนาเคยสั่งสอนไว้ว่า เป็นสิ่งที่ไม่ดีทั้งตนเอง ครอบครัว และสังคมส่วนรวม.