“กลุ่มไทยพุทธรักสันติ หวั่นสถานการณ์ลาม”เสนอเข้าพรรษาสันติ-ปลอดภัย เพื่อทุกศาสนิกในชายแดนใต้

0
463

กลุ่มชาวพุทธรักสันติ ตัวแทนพี่น้องชาวพุทธ ทั้งในยะลา ปัตตานี นราธิวาสและสงขลา ร้องขอ “เข้าพรรษาสันติ-ปลอดภัย ทุกคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ร่วมรณรงค์สาธารณะเพื่อให้วาระของเดือนเข้าพรรษาในปี 2565 เป็น 3 เดือนแห่งความปลอดภัยของพี่น้องพุทธและทุกศาสนิกในพื้นที่ชายแดนใต้ รวมพลังกันในตอนสายของวันที่ 10 ก.ค. ซึ่งตรงกับวันอิดิ้ลอัฏฮา หรือ วันรายอฮัจยี ของพี่น้องมุสลิม ณ บริเวณหอนาฬืกาสามวัฒนธรรม เทศบาลเมืองปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี


ตัวแทนกลุ่มได้กล่าวถึงความต่อเนื่องจากการทำข้อตกลงของคู่พูดคุยทั้งฝ่ายรัฐบาลไทยและบีอาร์เอ็นเพื่อยุติการปฏิบัติการที่รุนแรงจากทั้งสองฝ่าย ในช่วงรอมฏอนหนึ่งเดือนก่อนนี้ ทำให้ทุกคนปลอดภัย ชาวพุทธ ผู้เรียกตัวเองว่า กลุ่มชาวพุทธรักสันติ คือคนเล็กคนน้อยที่มารวมกันวันนี้ ขอเป็นตัวแทนของซาวพุทธในพื้นที่นี้ เพื่อเรียกร้องแสดงตัวตนของชาวพุทธ คนส่วนน้อยที่ยืนยันการอยู่ร่วมกันอย่างเคารพ อย่างมีศักดิ์ศรีและยึดมั่นในวิถีธรรมของพระพุทธศาสนา ท่ามกลางคนต่างศาสนิกมากมายทั้ง อิสลาม ชิกซ์ ฮินดู คริสต์ ชินโต ผู้ไม่นับถือศาสนา และทุกคน โดยกล่าวแถลง และเปล่งเสียง “เข้าพรรษาสันติ-ปลอดภัยทุกคน” ณ ลานสามวัฒนธรรมเทศบาลเมืองปัตตานีแห่งนี้ ไปยังรัฐบาลไทย ผ่านคณะพูดคุยสันติสุข ผู้แทนบีอาร์เอ็น และผู้แทนพูโล อีกครั้งหนึ่ง หลังจากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้ทำข้อเรียกร้อง “เข้าพรรษาสันติ-ปลอดภัยทุกคน” ไปยัง 3 ส่วนไปแล้ว วันนี้ เรามารวมกันที่นี่ โดยใช้วาระฤกษ์ดีวันอีฎิลอัดฮา อันศักดิ์สิทธิ์ ประกาศสาธารณะอีกครั้งหนึ่ง ณ ลานสามวัฒนธรรมเทศบาลเมืองปัตตานีแห่งนี้
นางสมใจ ชูชาติ ผู้แทนกลุ่มฯ กล่าวถึงกิจกรรมในวันนี้ว่า เป็นวันที่ดี มีความกลมกลืน เป็นวันประเสริฐของพี่น้องมุสลิมคือวันอิดิ้ลอัฏฮา วันที่ 11-14 เป็นต้นไปเป็นวันอันศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องพุทธที่ปฏิบัติศาสนกิจของตนเอง ทุกคนต้องการ กิจกรรมวันนี้ทำเพื่อประโยชน์ของทุกศาสนิกในชายแดนใต้
“ครั้งก่อนที่บนโต๊ะพูดคุย มีการตกลงระหว่างรัฐไทยกับบีอาร์เอ็นเรื่องของรอมฏอนสันติ เรามองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นบนข้อตกลงบนโต๊ะ เห็นภาพชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่ดีที่พี่น้องทุกศาสนิกออกมาทำภารกิจของตัวเอง มีพี่น้องพูดคุยเรื่องเข้าพรรษาสันติ เราก็คิดว่าเป็นการดีหากมีการปฏิบัติต่อเนื่อง สามารถดำรงชีวิต การไปมาหาสู่ เข้าพรรษาเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องพุทธ เช่นรอมฏอนเป็นช่วงศักดิ์สิทธิ์ของพี่น้องมุสลิม สิ่งเหล่านี้ต้องเริ่มต้นจากประชาชนในพื้นที่ที่ต้องการสันติสุข สงบสุข ออกมาเรียกร้อง เรายื่นหนังสือให้รัฐไทย บีอาร์เอ็นและพูโลไปเมื่อวันที่ 3 และ 4 กรกฏาคม
การแก้ปัญหาต้องไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย เราเห็นการขยับแต่ละก้าวเห็นปัญหาหลายอย่างทั้งสองฝ่าย ไม่กี่วันมานี้ที่รัฐไทยแสดงพลังโดยไปจับกุมผู้สูญเสีย พี่น้องพุทธคิดเยอะว่าจะปลอดภัยมั้ย เรากลัวการตอบโต้ที่ส่งผลกับทุกศาสนิก เศรษฐกิจ การไปมาหาสู่ เราไม่สบายใจ เราเห็นด้วยกับการพูดคุยเพราะทุกอย่างที่จะเกิดสันติสุขได้ต้องเปิดการเจรจา การพูดคุยเป็นทางออกที่ดี เป็นเรื่องที่ดีกับทุกฝ่าย ทุกกลุ่มที่จะมาพูดคุยเป็นเรื่องที่ดี สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นคือ เน้นเรื่องประชาชนในพื้นที่ให้มากที่สุด เพราะประชาชนคือผู้ที่ต้องอาศัยและดำรงชีวิตอยู่
เรามองภาพบวก แสดงตัวตนชัดเจน เจตจำนงที่บริสุทธิ์ใจ คนที่มาร่วมในวันนี้มาด้วยใจ คนที่ไม่ได้มาร่วมก็ส่งกำลังใจมา พวกเรายอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต”
นางสมใจกล่าวถึงข้อเรียกร้องกลุ่มชาวพุทธรักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า หมายถึงชาวไทยพุทธทุกคนในพื้นที่ ที่สนใจและกล้าหาญที่จะแสตงตัวตนของความเป็นคนพุทธที่อาศัยในชายแดนใต้ แม้เป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ ยังยืนยันการอยู่ร่วมกันในพื้นที่อย่างมีศักดิ์ศรีและยึดมั่นในวิถีชาวพุทธท่ามกลางความหลากหลายของคนต่างศาสนิก ทั้งอิสลาม ชิกข์ ฮินดู คริสด์ ชินโต และผู้ไม่นับถือศาสนา
เราผู้เฝ้าติดตามและสนับสนุนการพูดคุยสันติสุขนับเนื่องมาจากปี 2556 สมัยนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนถึงปัจจุบันสมัย นายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
โดยเฉพาะ การพูดคุยระหว่างรัฐบาลไทยและคณะเจรจาสันติภาพฝ่ายขบวนการปาตานี ครั้งที่ 4 กลุ่ม BRN ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – เมษายน 2565 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีข้อตกลงที่มีความก้าวหน้า คือ “ความริเริ่มรอมฏอนเพื่อสันติสุข” ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงยุติปฏิบัติการทางทหาร ระหว่าง 3 เมษายน – 14 พฤษภาคม 2565 ซึ่งเป็นการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติสุขในช่วงเดือนรอมฏณน ซึ่งเราพิจารณาเห็นว่า การที่ทั้งสองฝ่ายร่วมกันรักษาข้อตกลงนั้น ทำให้ทุกคน ทุกศาสนิกได้ปลอดภัยไปด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องนำยินดีเป็นอย่างยิ่ง
ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ชาวไทยพุทธในคณะประสานงานสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ และเครือข่ายชาวพุทธ 3 จังหวัด 4 อำเภอ ในพื้นที่ชายแดนใต้ ในโอกาสเข้าพบพลเอกวัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข พลโทธิวา แดหวา แม่ทัพน้อย และที่ปรึกษาคณะพูดคุยสันติสุข พร้อมใจนำเสนอการพูดคุยเรื่องความปลอดภัยในวาระเข้าพรรษา-ประเพณีชักพระ เพื่อสนับสนุนให้ ฝ่ายพูดคุย B_BRN และฝ่าย A -รัฐไทยเชื่อมต่อข้อตกลงจากวาระรอมฎอนสันติ เพราะเห็นประจักษ์ชัดว่า ข้อตกลง ประเด็นหลักเรื่อง การยุติความรุนแรงจากทั้ง2 ฝ่าย ระหว่างเวลาอันศักดิ์สิทธิ์รอมฎอน ที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จโดยการยุติความรุนแรงจากทั้งสองฝ่าย ทำให้ทุกคนได้ปลอดภัยตลอดเวลารอมฏอน ทางเครือข่ายฯ จึงมีการเสนอต่อเนื่องจากวาระนั้น โดยขอให้ทั้งสองฝ่าย มีข้อตกลงให้ช่วงวาระอันศักดิ์สิทธิ์เช้าพรรษา เป็นวาระสันติด้วย โดยขอเชิญชวนชาวพุทธปฏิบัติกิจทางศาสนาอย่างเข้มข้นตลอด 3เดือน ด้วยความปลอดภัย จากการไม่ทำความรุนแรงอย่างน้อยจากคู่พูดคุยทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อให้ทุกศาสนิกปลอดภัยเช่นเดียวกับช่วงรอมฏอน เป็นการสนับสนุนเป็นกำลังใจให้ข้อตกลงนี้ถูกยอมรับและได้ดำเนินการต่อไป
วันที่ 29 มิถุนายน คณะทำงานเครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับประเด็นลดความรุนแรงจากทั้ง 2 ฝ่ายในช่วงรอมฎอนที่ผ่านมาเช่นเดียวกัน ความว่า เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางศาสนา วัฒนธรรมของพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอให้ทั้งสองฝ่ายมีการพูดคุยถึงเรื่อง “เข้าพรรษาเพื่อสันติสุข” ที่จะ มีขึ้นในระหวา่งวันที่ 14 กรกฎาคม – 10 ตุลาคม 2565 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนสามารถไปปฏิบัติิ ภารกิจทางศาสนาได้อย่า่งปลอดภัย
กลุ่มชาวพุทธรักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตระหนักในข้อตกลงการยุติการปฏิบัติการทางทหาร-การไมทำความรุนแรงในพื้นที่ของคู่พูดคุยเพื่อสันติสุข ที่ประสบความสำเร็จ เป็นที่ตอบรับของประชาชนทุกกลุ่มทุกศาสนิก จึงขอแสดงความยินดีกับคู่พูดคุยทั้ง 2 ฝ่าย ที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ตอบรับและเกิดความมั่นใจ ไว้วางใจต่อท่า่นว่า่ สามารถ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการจะร่วมกันสร้างสภาวะที่เี่อื้อต่อการอยู่รู่่วมกันอย่า่งปลอดภัยในพื้นที่ นับแต่ต่อนี้ไี้ป ซึ่งเป็นโอกาสอันดี ในการพูดคุยเพื่อสันติสุขครั้งต่อไป ในเดือนกรกฎาคม 2565 นี้ กลุ่มชาวพุทธรักสันติจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงมีข้อเสนอต่อไปนี้

  1. ให้มีการพูดคุยและจัดทำข้อตกลง บนโต๊ะพูดคุย ที่ประเทศมาเลเซีย ในเดือนกรกฎาคม 2565 เรื่อง ยุติการก่อเหตุรุนแรงและปฏิบัติการทางทหารของทุกฝ่ายในพื้นที่ ตลอดเวลา 3 เดือนในห้วงเข้าพรรษาถึงประเพณีชักพระของชาวพุทธ เพื่อให้เกิด “วาระเข้าพรรษาสันติ-ปลอดภัย สำหรับทุกคนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ในปี 2565”
    2.ให้ทั้ง 2 ฝ่าย ที่เป็นคู่พูดคุยฯ ในขณะนี้ ร่วมแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งด้วยวิธีการทางการเมือง และขอให้คู่พูดคุยฯ เดินหน้ากระบวนการพูดคุย และแก้ไขความขัดแย้งด้วยวิธีการและกระบวนการทางการเมือง โดยเอื้อให้มีการเปิดพื้นที่การปรึกษาหารือกับประชาชนในพื้นที่ทุกกลุ่ม เพื่อเป็นการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เีอื้อ และความร่วมมือในการสร้างสันติสุข
    3.ให้ประชาชน กลุ่ม องค์กร และตัวแทนกลุ่มชาวไทยที่นัับถือศาสนาพุทธ ที่ขับเคลื่อนกระบวนการ สันตสุข มีโอกาสรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอแนะกับรัฐบาลไทย และขบวนการบีอาร์เอ็น ภายใต้การดำเนินงานของคณะพูดคุยฝ่ายไทย และคณะผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยประเทศมาเลเซีย
  2. เลขา เกลี้ยงเกลา ทีมข่าว@ชายแดนใต้