ทุเรียน “อาลีบาบา” เตรียมเหินฟ้า พาณิชย์ยะลาดันสุด ๆ ย้ำและส่งเสริมเกษตรกรควบคุมคุณภาพ

0
894

พาณิชย์จังหวัดยะลา ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดประชุมเชิงปฎิบัติการ เกษตรกรชาวสวนทุเรียนยะลา  ควบคุมคุณภาพ เตรียมส่งออกสนับสนุน “อาลีบาบา” ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี

นายอนุชิต ตระกูลมุทุตา ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา   เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการผลิตตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP สำหรับสวนทุเรียน และการแกะเนื้อทุเรียนจากสวนแช่แข็งให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออก   พร้อมเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ( MOU) การซื้อขายผลไม้ ระหว่างสถาบันเกษตรและตัวแทน บริษัท ควีน โฟรเซ่น ฟรุ๊ต จำกัด  ที่ ห้องวลัย 2  โรงแรมยะลารามา  อ.เมือง จ.ยะลา     โดยมี กลุ่มสถาบันเกษตร กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนแปลงใหญ่ ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 50  ราย

สำหรับการจัดอบรมครั้งนี้ ทางสำนักงานพาณิชย์จังหวัดยะลา  ได้รับอนุมัติงบประมาณจากกรมการค้าภายในให้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิต ตามระบบการจัดการคุณภาพ GAP สำหรับสวนทุเรียนและการแกะเนื้อทุเรียนจากสวน  เพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำของจังหวัดยะลา   โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรผลิตผลไม้ที่มีคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลไม้เกรดรองโดยเฉพาะทุเรียน  และได้ประสานเชื่อมโยงผู้ประกอบการรับซื้อผลไม้และผู้ประกอบส่งออกเข้ามารับซื้อผลไม้คุณภาพจากเกษตรกรเป็นการล่วงหน้า

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับราคาสินค้าเกษตร สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกร  และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์กระทรวง : ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างขีดความสามารถให้ผู้ประกอบการและวิสาหกิจสู่การเป็น Trading Nation ยุทธศาสตร์จังหวัด : ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการแปรรูปผลผลิต ด้านการเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและการส่งออก

นายนิอันนุวา สุไลมาน พาณิชย์จังหวัดยะลา เปิดเผยว่า   ปัจจุบันพฤติกรรมการซื้อทุเรียนเริ่มเปลี่ยน เพราะทุเรียนในเรื่องของการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบการซื้อเดิมจากผลสด มาเป็นทุเรียนแช่เย็นแช่แข็ง แล้วส่งออกของตลาดตอนนี้คนที่ซื้อเปลี่ยนวิธีการซื้อพอเปลี่ยนการซื้อจะเป็นทุเรียนสุก ทุเรียนคุณภาพ และแช่ ประเทศจีนเองก็เปลี่ยนการซื้อ เพราะนั้นทางยุโรปอเมริกากินทุเรียนที่ปลอดสารพิษ และเป็นทุเรียนเป็นลูก แช่เย็นลบ 45 องศา  ระยะยาวจะต้องเตรียมเกษตรกรในจังหวัด ที่มาวันนี้ได้เชิญตัวแทนเกษตรกรที่หลักๆ ทั้ง 3 จังหวัด ที่ทำผลไม้แปลงใหญ่ จึงมองว่าเกษตรกรต้องปรับตัวเพื่อที่จะทำทุเรียนคุณภาพเพิ่มขึ้น พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เชิญแจ๊ค หม่า  เจ้าของเว็บไซต์อาลีบาบา  ตามนโยบายได้พูดชัดเจนว่าคุณภาพไปได้ เพราฉะนั้นเกษตรกรต้องเตรียมตัว หากไม่เตรียมตัวระยะยาวถ้าเกิดอะไรขึ้นเกษตรกรจะลำบาก เพราะพื้นที่การปลุกทุเรียนในพื้นที่ 5 หมื่นกว่าไร่  ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นกว่าตัน  มันไม่น้อยเลย

เพราะฉะนั้นวิธีการก็คือจะดูสถานการณ์ในการซื้อทุเรียนจากภาพตะวันออก แล้วไล่ลงมาที่ จ.ชุมพร ต่อไปลงมา จ.ยะลา เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเที่ยวนี้ได้เชิญบริษัทเอกชน ที่เป็นบริษัทห้องเย็นหลัก และมีตลาดห้องเย็นต่างประเทศ กว่า 30 ประเทศ และบริษัทเอกชนอีกแห่ง ที่อยู่ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  ที่มีความต้องการทุเรียนเพื่อส่งออกต่างประเทศ เพราะฉะนั้นในการเตรียมตัวครั้งนี้จึงสอดคล้องกับห้องเย็นที่อยู่ยะลา เพราะฉะนั้นจะต้องโฟกัสให้ชัดว่า ห้องเย็นที่ยะลาจะเดินตามกระบวนการผลิตแล้วจะเข้าตลาดอย่างไรซึ่งจะเป็นระบบและไม่เป็นปัญหาในอนาคตเป็นจุดนี้เป็นเรื่องสำคัญ การทำวันนี้จึงไม่คาดหวังร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าจะทำสำเร็จ แต่ในการที่คิดร่วมกัน การได้รู้ข้อมูล การเปลี่ยนแปลงวิทยากรมาจากศูนย์ที่เกี่ยวกับคุณภาพ จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม เมื่อวานนี้(1พค) ก็ได้ลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรได้รับความสนใจมากันพอสมควร ตั้งเป้าไว้ 50 ครอบครัวหลัก แต่คาดว่าจะเกิน และได้รับการสนับสนุนจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ งบประมาณหลักที่มาในครั้งนี้ มีวิทยากรที่เป็นอดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของกระทรวงพาณิชย์  มาให้ความรู้เบื้องต้นซึ่งเกษตรกรทำอยู่แล้ว และจะทำให้ดีขึ้นอย่างไร จะพัฒนาเกษตรกรเป็นเกษตรกรในอาชีพเกษตรกรจะต้องเป็นเกษตรกรมืออาชีพ เพราะสองคำนี้ความหมายต่างกัน

“สำหรับปัญหาผลผลิตปีนี้ เท่าที่คาดการณ์จากการประสานข้อมูลในภาคตะวันออก และจุดอื่นๆผลผลิตลดลง เพราะลม ฝน ที่มา  เพราะฉะนั้นความต้องการทุเรียนในต่างประเทศยังมีอยู่ในมลฑลต่างๆของจีนก็ยังต้องการอยู่ แต่อยู่ที่วิธีการซื้อและการบริหารจัดการ จะต้องประเมินสถานการณ์ทุกระยะจะบอกว่าราคาทุเรียนดีตลอดต้องดูที่คุณภาพ ราคาเป็นไปตามคุณภาพ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ชัดเจนมาก ทุเรียนไม่ถึงกับล้นตลาด อยู่ที่การบริหารจัดการ   ส่วนผลผลิตทุเรียนของ จ.ยะลา ในปีนี้ คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 3 หมื่นกว่าตัน เป็นตัวเลขที่ขึ้นทะเบียน แต่ถ้าดูพื้นที่น่าจะมากกว่า โดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ปลูกทั่วประเทศยิ่งต้องระมัดระวัง ถ้าไม่ปรับในเรื่องของคุณภาพและการเตรียมความพร้อมของการจัดการที่มีห้องเย็นและตลาดที่มีอยู่จะเสียโอกาสในระยะยาว สงสารเกษตรกร ส่วนความสำเร็จจะได้แค่ใหนเป็นวิธีการที่ต้องช่วยกัน ตอนนี้ทุกภาคส่วนได้เข้ามาช่วยกัน” นายนิอันนุวา กล่าว

 

ภาพ/ข่าว มูกะตา หะไร ทีมข่าว @ชายแดนใต้ จ.ยะลา